ข้อมูลพื้นฐาน

ประวัติของโรงเรียนบ้านกุดไผ่

โรงเรียนบ้านกุดไผ่ เดิมชื่อ โรงเรียนประชาบาลวัดตลาดแร้ง 1 เป็นโรงเรียนประชาบาลแห่งแรกของตำบลตลาดแร้ง ตั้งเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2468  มีนายโสม  เกิ้งชัยภูมิ เป็นครูใหญ่คนแรก มีเขตบริการ คือ บ้านกุดไผ่  บ้านกุดยาง  บ้านโนนเปลือย  บ้านยางนาดี  บ้านหลุบโพธิ์ และบ้านโนนขี้ตุ่น ต่อมาหมู่บ้านต่างๆ เหล่านี้ได้เปิดโรงเรียนประจำหมู่บ้านของตนเองขึ้น


ข้อมูลทั่วไป

โรงเรียนบ้านกุดไผ่ เป็นโรงเรียนขนาดกลาง ตั้งอยู่ที่บ้านกุดไผ่ หมู่ที่ 1 ตำบลตลาดแร้ง อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ รหัสไปรษณีย์ 36170 ระยะทางจากโรงเรียนถึงอำเภอบ้านเขว้าประมาณ 9 กิโลเมตร จากอำเภอบ้านเขว้าถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ประมาณ 16 กิโลเมตร มีพื้นที่ 17  ไร่  เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3  

เขตบริการของโรงเรียนกุดไผ่ มีเขตบริการ 4 หมู่บ้าน

     -  บ้านกุดไผ่           หมู่ที่  1      ตำบลตลาดแร้ง  อำเภอบ้านเขว้า  จังหวัดชัยภูมิ

                -  บ้านดอนไฮ –โนนคร้อ  หมู่ที่  2      ตำบลตลาดแร้ง  อำเภอบ้านเขว้า  จังหวัดชัยภูมิ

     -  บ้านตลาดแร้ง   หมู่ที่  14    ตำบลตลาดแร้ง  อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ

     -  บ้านตาดพัฒนา หมู่ที่  13    ตำบลตลาดแร้ง  อำเภอบ้านเขว้า  จังหวัดชัยภูมิ 

หมู่บ้านอื่นที่นอกเขตบริการ ที่มีนักเรียนมาเข้าเรียน ได้แก่ 

 -  บ้านกุดยาง         หมู่ที่   3    ตำบลตลาดแร้ง   อำเภอบ้านเขว้า  จังหวัดชัยภูมิ

               -  บ้านแจ้งอุดม หมู่ที่   5    ตำบลตลาดแร้ง  อำเภอบ้านเขว้า  จังหวัดชัยภูมิ

 -  บ้านยางนาดี   หมู่ที่   5    ตำบลชีบน         อำเภอบ้านเขว้า   จังหวัดชัยภูมิ

               -  บ้านสงแคน หมู่ที่ 6    ตำบลชีบน        อำเภอบ้านเขว้า   จังหวัดชัยภูมิ





ปรัชญาของโรงเรียน

นตฺถิ ปญฺญา สมาอาภา

" แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี"

 

 

คำขวัญของโรงเรียน

การเรียนก้าวหน้า การกีฬาเด่น เน้นพัฒนาคุณธรรม เป็นผู้นำอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

 

 

วิสัยทัศน์  (Vision)

ภายในปี 2565  ผู้เรียนได้มาตรฐาน  บนพื้นฐานคุณธรรม  น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คู่เคียงหลักธรรมาภิบาล ร่วมต้านยาเสพติดในสถานศึกษา  

 

 

พันธกิจ (Mision  Statement)

       1. จัดการศึกษาระดับปฐมวัย  ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น ให้แก่เด็กในเขตบริการอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพได้มาตรฐาน

       2. พัฒนาการบริหารงานตามโครงสร้างองค์การ ๔ กลุ่มงาน คือ บริหารบุคคล บริหารวิชาการ บริหารงบประมาณ และบริหารทั่วไปโดยใช้หลักธรรมาภิบาลและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้มีประสิทธิภาพ

       3. พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

       4. จัดให้มีระบบการประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ

       5. จัดสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง